ภายหลังที่สมาคมฯได้จัดให้มีการประชุมกำหนดกรอบและแนวทางการร่างกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2547 โดยมีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากสถาบันต่างๆจำนวน 10 คน ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน 10 คน นักวิชาการ 1 คน กรรมการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน และผู้แทนสื่อมวลชนขององค์กรนั้น ซึ่งในที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติสำคัญ 2 ประการคือ
- กรอบการร่างกฎหมายให้ครอบคลุมสัตว์ 4 ประเภท กล่าวคือ
- สัตว์เศรษฐกิจ
- สัตว์เลี้ยง
- สัตว์ป่า
- สัตว์ทดลอง
- กระบวนการยกร่าง และผลักดันกฎหมาย
- กำหนดแนวทางร่างกฎหมาย
- แต่งตั้งคณะทำงานร่างกฎหมายจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและผู้อาวุโสในวงการ
- จัดเวทีสัมนาเพื่อหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยกระบวนการ AIC
- ยกร่างกฎหมายโดยคณะทำงานที่ได้รับแต่งตั้ง
- ทบทวน ตรวจสอบร่าง โดยคณะนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ
- เปิดประชาพิจารณ์ โดยตัวแทนองค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ภาคเอกชน ภาคประชาคมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์
- พิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายฯ โดยคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ จากกระบวนการประชาพิจารณ์
- นำเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันเข้าสู่กระบวนการ
- พัฒนาเครือข่ายประชาคมทั่วประเทศ เพื่อร่วมผลักดัน
- รวบรวมรายชื่อสนับสนุน 1.5 แสนรายชื่อ (ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 กำหนด 50,000 รายชื่อ) เพื่อยื่นเสนอแก่ประธานรัฐสภาฯ
- แต่งตั้งคณะทำงานอาวุโส (ที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน) เพื่อติดตามความคืบหน้าและประสานงานฯลฯให้บรรลุเป้าหมาย
นายสวรรค์ แสงบัลลังค์ ผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ซึ่งเป็นเจ้าภาพโครงการได้กล่าวอย่างหนักแน่นว่า “เพื่อให้การรณรงค์กฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์ในประ เทศไทยประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สมาคมฯได้จัดตั้งคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านกฎหมาย นักวิชาการ นักอนุรักษ์และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆมาร่วมกันทำงานโดยแบ่งเป็นคณะกรรมการ 2 คณะ กล่าวคือ
- คณะกรรมการร่างกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์
- คณะกรรมการที่ปรึกษาร่างกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์
โดยคณะกรรมการชุดที่ 1 นั้น ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยนิติกรและผู้ปฏิบัติงานด้านปกป้องคุ้มครองสวัสดิการสัตว์ ดังนี้
- คุณ โรเจอร์ โลหนันท์
นายกสมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย) - คุณ ฐิราภรณ์ จูสกุล
กรรมการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) - คุณ ธีระศักดิ์ ชึขุนทด
นิติกร(ด้านสิ่งแวดล้อม) ตัวแทนจากสภาทนายความ - คุณ โกเมน สิมากร
นิติกรอาวุโส ศูนย์ซื้อขายตราสารหนึ้ - คุณ วิชญ เชยะกุล
นิติกร จากสำนักงานกฎหมายและการบัญชีนิตินัย เชียงใหม่ - คุณ ศิริชัย โคตุโร
นิติกร จากสำนักงานกฎหมายธรรมาวุธ อินเตอร์ลอว์ - คุณ เชิดชัย วงศ์งาม
นิติกร จากS.P.B ทนายความและการบัญชี - คุณ ชัชวาล ชื่นใจ
นิติกร จากบริษัทศักยภาพกฎหมายและธุรกิจ จำกัด - คุณ สัญญา ศุกระศร
นิติกร จากสำนักงานกฎหมายสัญญา ศุกระศรและเพื่อน เชียงใหม่ - คุณ สวรรค์ แสงบัลลังค์
ผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย
และที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สภาผู้แทนราษฎร
อดีตหัวหน้าโครงการรณรงค์เพื่อการไม่ค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF)
ส่วนคณะกรรมการชุดที่ 2 ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการและแนวทางการร่างกฎหมายพร้อมกับทบทวนร่างกฎหมายที่ได้ยกร่างจากคณะกรรมการชุดที่1ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสวัสดิการสัตว์และสวัสดิการสังคมในระดับประเทศ อาทิ
- คุณ วิชิต แก่นกำจร
รองอธิบดีสำนักงานคดีศาลแขวง สำนักงานอัยการสูงสุด - คุณ ศิริ หวังบุญเกิด
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โฆษกคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - คุณ ประพจน์ คล้ายสุบรรณ
ตุลาการศาลปกครอง - คุณ พิสุทธิ์ ศรีขจร
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา - คุณ เดชอุดม ไกรฤทธิ์
นายกสภาทนายความ - รศ.น.สพ. ปานเทพ รัตนากร
คณบดีคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล - รศ.นุชทิพย์ บรรจงศิลป์
คณะกรรมการสมาคมบัณฑิตย์สตรีทางกฎหมาย
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กรรมการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายครอบครัวและที่เกี่ยวข้อง (กกส.) สำนักนายกรัฐมนตรี - น.สพ.นิรันดร เอื้องตระกูลสุข
ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - น.สพ. สมภพ ฉัตราภรณ์
ผู้อำนวยการสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
สังกัดกรุงเทพมหานคร - คุณ โรเจอร์ โลหนันท์
นายกสมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย) - คุณ พิสิษฐ์ ณ พัทลุง
อุปนายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย - คุณ สุรพล ดวงแข
เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ - คุณ พยงค์ ฉัตรวิรุฬห์
อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญกฎหมายสิ่งแวดล้อม - คุณ รตยา จันทรเทียร
ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร