หยุดคิดสักนิด…ถ้าจะเลี้ยงสัตว์ป่า

มนุษย์(Human being) เรานี้ดำรงชีวิตโดยปราศจากเพื่อนที่แสนดีอย่างสัตว์ป่าโดยปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ในอดีตมนุษย์จะต้องอาศัยหรือใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าในรูปของอาหาร(Foods) เครื่องนุ่งห่ม(Clothes) หรือยารักษาโรค (Tradition in medicine) ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้น(Over population) ทำให้เกิดมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้านสัตว์ป่า(Wild animal resource) อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการไม่รู้จักใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สัตว์ป่าจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วและบางอย่างก็สูญพันธุ์(Extinction) ไปจากโลกของเราเสียแล้ว เช่น เนื้อสมัน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือกูปรี เป็นต้น

ต่อมาเพราะความจำเป็นของการหาอาหารในการดำรงชีพของมนุษย์และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทำให้มนุษย์นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้เป็นอาหาร(Livestock) และมีการปรับปรุงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้สัตว์ที่มีรูปร่างแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคติดต่อ และสามารถถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมที่ดีให้กับลูกหลานได้ จนถึงขณะนี้นอกจากจะเพิ่มกำลังผลิตให้เพียงพอกับคนภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้อีกด้วย

หลายพันปีที่ผ่านมามนุษย์รู้จักนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเป็นเพื่อน(Pets) ทั้งนี้ คงเห็นว่าสัตว์ป่าบางชนิดมีสีสันที่สวยงาม บางตัวมีเสียงร้องที่ไพเราะน่าฟัง บางตัวมีรูปร่าง ลักษณะที่น่าสนใจ แปลกตา ทำให้มีการเข้าป่าไปล่าสัตว์ป่าที่มีคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้มากักขัง เลี้ยงไว้ บางกลุ่มก็ทำเป็นอาชีพหลักจ้างพรานป่าล่าสัตว์ดังกล่าวมาขายให้กับประชาชนในเมืองที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เมื่อมีความต้องการเลี้ยงสัตว์ป่ามากขึ้นก็ทำให้มีออร์เดอร์(Order) ยอดสั่งซื้อมากขึ้นต้องล่าเพิ่มมากขึ้น สัตว์ป่าหลายชนิดจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

สำหรับประชาชนที่รู้สึกอยากเลี้ยงสัตว์ป่า(Wild animals) มาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน(Pets) มีความจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องดังต่อไปนี้

  • ผู้เลี้ยงสัตว์ป่า(Keepers) : จะต้องเป็นบุคคลที่มีความอ่อนโยน มีความรักเมตตาต่อบุคคลอื่นและสัตว์ทุกชนิด พูดง่ายๆ คือ เราจะต้องนำตัวสัตว์จากป่ามาขังไว้ในกรงไม่ให้เค้าหนีจากเราไป จึงต้องมีความเข้าใจในสภาพที่สัตว์ป่าต้องอยู่อาศัยในที่จำกัดและต้องตระหนักว่าการเลี้ยงสัตว์ป่า เป็นภาระหรือเป็นงานที่สำคัญสำคัญอย่างหนึ่ง อย่าถือว่าเป็นงานอดิเรกที่จะทำเมื่อใดก็ได้ถ้ามีเวลาว่างจะต้องเป็นบุคคลที่มีความอ่อนโยน มีความรักเมตตาต่อบุคคลอื่นและสัตว์ทุกชนิด พูดง่ายๆ คือ เราจะต้องนำตัวสัตว์จากป่ามาขังไว้ในกรงไม่ให้เค้าหนีจากเราไปจึงต้องมีความเข้าใจในสภาพที่สัตว์ป่าต้องอยู่อาศัยในที่จำกัดและต้อง
  • พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง(Behavior of animals) : ก่อนจะนำสัตว์ชนิดใดมาเลี้ยงอย่างแรกสุดจะต้องศึกษาค้นคว้า ถึงชนิดของสัตว์ดังกล่าวในทุกด้านว่าเป็นอย่างไร เป็นต้นว่าวงจรชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตัวเต็มวัย (Adult) พฤติกรรมการดำรงชีพ การกินอาหาร การล่าสัตว์อื่น การอยู่รวมฝูง การหลบภัย การผสมพันธุ์ ตลอดจนพฤติกรรมเมื่อนำมาขังในกรงมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร
  • ถูกต้องตามกฎหมาย (Legalization) :สัตว์ป่าที่เรารู้จักและนำมาเลี้ยงดูกันในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครองให้มีชีวิตอย่างปกติสุขตามกฎหมาย แต่หากมีการนำสัตว์มาเลี้ยงในบ้าน (Domestic animals) ก็จะมีกฎหมายคอยควบคุมเรื่องการค้าขาย การครอบครอง หรือการเพาะพันธุ์ การหาชื้อสัตว์ป่าของไทยในปัจจุบันกระทำได้ยากมาก เพราะกฎหมายห้ามไม่ให้มีการซื้อขายสัตว์ป่า นอกจากเป็นลูกหลานของสัตว์ป่าที่เกิดจากฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์ป่าโดยเฉพาะที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการเท่านั้น ขณะนี้ฟาร์มสัตว์ป่าก็อยู่ระหว่างการเริ่มดำเนินการยังไม่สามารถสนองความต้องการเลี้ยงสัตว์ป่าของประชาชนได้

หลายคนจึงหันไปหาซื้อสัตว์ป่าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมาเลี้ยงเนื่องจากเป็นชนิดที่แปลกไม่เคยพบเห็นมาก่อน มีสีสันที่ฉูดฉาดเป็นที่สะดุดตาแต่ว่าราคาสูงกว่าสัตว์ป่าของไทย จะทำอย่างไรได้ก็สัตว์ป่าของเราไม่สามารถหาซื้อได้ถูกต้องตามกฎหมาย มักจะแอบซื้อขายตามตลาดแถวเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เกิดเป็นปัญหาต่อเนื่องมากมาย การเอาสัตว์ป่ามาเลี้ยงดูในบ้านจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรหรือไม่ ผมจะลองประมวลประเด็นต่างๆที่หลายคนอาจจะทราบมาบ้างแล้ว แต่บางประเด็นยังมองไม่เห็นหรือคาดไม่ถึงว่าแค่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงจะทำให้มีความยุ่งยากมากมายขนาดนั้นหรือ ลองอ่านแล้วทำความเข้าใจกันเอาเองนะครับ

ข้อดีของการเลี้ยงสัตว์ป่า
ข้อเสียของการเลี้ยงสัตว์ป่า
ด้านผู้เลี้ยง  (Keepers)
1. สอนให้รู้จักรักชีวิตผู้อื่น  คอยเฝ้าเอาใจใส่  ทะนุถนอมสัตว์ที่อยู่ในอุปการะ
1. อาจถูกค่อนแคะว่ามีจิตใจคับแคบ  รังแกสัตว์นำมากักไว้ในกรงเล็กๆ  ขาดอิสรภาพ
2. รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  เป็นงานอดิเรกที่ผ่อนคลายจากการทำงานปกติ
2. หาทางออกจากภาวะเครียดจากการทำงานด้วยการระบายกับสัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยง  โดยการจับต้องลูบคลำ  ฟังเสียงไพเราะ
3. มีความสามารถพิเศษในการดูแลชีวิตของสัตว์ป่าได้ดีกว่าบุคคลอื่น  เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง
3. รู้สึกว่าผู้เลี้ยงเป็นคนที่มีแต่ความเห็นแก่ตัว  นำสัตว์ป่าที่มีความสวยงามจากธรรมชาติมาเก็บเอาไว้ดูเพียงคนเดียว แทนที่จะเป็นของส่วนรวม
ด้านสัตว์ป่า  (Wild  animals)
1. สัตว์ป่าหลายชนิดมีชีวิตรอดอยู่ได้เพราะนำมาเลี้ยงไว้ในกรงด้วยการดูแลของมนุษย์
1. สัตว์ป่าหลายชนิดที่มนุษย์นำมาเลี้ยงโดยไม่ถูกวิธีได้ตายเป็นจำนวนมากและก็จะหามาเลี้ยงอีกเพื่อเป็นการทดสอบฝีมือของคนเลี้ยง
2. สัตว์ป่าหลายชนิดได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์  ขยายพันธุ์ได้ดีกว่าเมื่ออยู่ในป่า  เนื่องจากมีการจัดการเรื่องอาหาร  น้ำ  ยารักษาโรค  และวิตามินต่างๆ 
2. สัตว์ป่าหลายชนิดเมื่อนำมาเลี้ยงจะขาดความเป็นป่า  ลดความปราดเปรียว  หาอาหารไม่เป็นต้องคอยรับอาหารจากผู้เลี้ยงตลอดเวลา  ปล่อยคืนสู่ป่าก็จะตายในไม่ช้า
3. สัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงบางชนิดเป็นประโยชน์ทางการแพทย์  เป็นสัตว์ทดลอง  ใช้ทดสอบ    ตัวยาทำให้มีการผลิตยาที่มีค่ารักษาโรคของมนุษย์ได้
3. สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์ทดสอบตัวยาต่างๆได้รับการทรมานในรูปแบบต่างๆ  เนื่องจากสารพิษ   ที่ถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย
ข้อดีของการเลี้ยงสัตว์ป่า
ข้อเสียของการเลี้ยงสัตว์ป่า
 ด้านเศรษฐกิจ  (Economics)
1. การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อผลิตให้ได้ลูกหลานจำนวนมาก  สามาถทำเป็นอาชีพที่มีรายได้เป็นอย่างดี
1. การนำสัตว์ป่ามาขายได้กำไรดีมาก  เพราะต้นทุนการผลิตไม่มี  หยิบออกมาจากป่าก็ขายได้เลย
2. ทำให้เกิดการกระจายรายได้กับผู้ประกอบการหลายกลุ่ม  เช่น  ผู้ค้าพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ผู้ค้าอาหารสัตว์  ผู้ค้ากรงเลี้ยงสัตว์  ตลอดจนผู้ผลิตในลำดับต่างๆ 
2. มีการกระจายรายได้ในหมู่ผู้ลักลอบค้าสัตว์ป่ากลุ่มใหญ่  เช่น  นายพราน  นายหน้า  พ่อค้าใต้ดิน  และผู้ลักลอบส่งออก
3. มีการนำเข้า-ส่งออกสัตว์ป่าระหว่างประเทศทำให้การหมุนเวียนเงินตราเกิดความคล่องตัว
3. มีการนำเข้า-ส่งออกสัตว์ป่าที่เป็นพาหะของโรค  หรือเป็นสัตว์ป่าต่างถิ่น  (Exotic  animals)  เข้ามาทำลายสัตว์ป่าในท้องถิ่นเดิมได้
ด้านกฎหมาย  (Legalization)
1. เป็นการส่งเสริมให้มีการค้าสัตว์ป่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าหรือมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ
1. เป็นการส่งเสริมให้การลักลอบล่าหรือค้าสัตว์ป่ามากขึ้น เพราะเมื่อมีการห้ามก็จะทำให้สินค้าสัตว์ป่าเป็นที่ต้องการของตลาดและราคาจะสูงขึ้น
2. ลดการลักลอบล่าหรือค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายเพราะมีแหล่งหรือที่มาที่ถูกต้องหาซื้อได้ทั่วไป
2. แหล่งผลิตหรือร้านค้าสัตว์ป่าที่ถูกต้องตามกฎหมายมีน้อย  ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด
3. แม้ว่าสัตว์ป่าในประเทศจะผลิตไม่เพียงพอแต่สามารถนำเข้าสัตว์ป่ามาจากต่างประเทศได้
3. เป็นการสูญเสียเงินตราไปต่างประเทศโดยไม่จำเป็น  เนื่องจากคือว่าเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือยอย่างหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าการจะทำอะไรสักอย่างอาจเกิดมุมมองเป็นสองด้านได้ ผมเพียงแค่เสนอความเห็นของผู้ที่สนใจด้านสัตว์ป่าคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งอาจมีหลายคนไม่เห็นด้วยก็เป็นเสรีภาพในการแสดงออก อย่างไรก็ตามก็ขอให้มีความสุขในการเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของท่านและถ้ามีความเห็นหรือข้อเสนอแนะก็ส่งความรู้สึกไปให้อ่านกันบ้างที่ E-mai : thanit_wildlife@yohoo.com หรือ thanit_wildlife@hotmail.com แล้วพบกันฉบับหน้านะครับ … สวัสดี

ที่มา บทความโดย ธนิตานุกูล ภาพโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช