รู้จักพันธุ์ปลาของไทยที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครอง

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนที่มีความหลากหลายของพันธุ์ปลาหลายร้อยชนิด ซึ่งต่อมาประชานชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น ได้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างมากมาย จนส่งผลกระทบต่อชนิดและปริมาณพันธุ์ปลาในธรรมชาติ จนกระทั่งมีความจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการคุ้มครองพันธุ์ปลาที่หายากใกล้จะสูญพันธุ์ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดยกำหนดควบคุมการห้ามทำการจับ ล่า ทำอันตราย การครอบครองเลี้ยงดู การค้า การเพาะพันธุ์ การนำเข้า ส่งออก ซึ่ง ปัจจุบันมีพันธุ์ปลาที่ได้รับการคุ้มครองจำนวน 14 ชนิด ดังนี้

  1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
  2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Coius microlepis)
  3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
  4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
  5. ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)
  6. ปลาจาดถ้ำ (Poropuntius speleops)
  7. ปลาพลวงถ้ำ (Neolissochilus subterraneus)
  8. ปลาผีเสื้อถ้ำ (Cryptotora thamicola)
  9. ปลาค้อถ้ำ (Nemacheilus troglocataractus)
  10. ปลาค้อตาบอด (Schistura oedipus)
  11. ปลาค้อจารุธานินธร์ (Schistura jaruthanini)
  12. ปลาค้อถ้ำพระวังแดง (Schistura spiesi)
  13. ปลาค้อถ้ำพระไทรงาม (Schistura deansmarti)
  14. ปลาชะโอนถ้ำ (Pterocryptis buccata)

โดยปลาตะพัดและปลาเสือตอเป็นปลาที่ประชาชนสามารถนำมาเลี้ยงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยผู้เลี้ยงต้องได้รับใบอนุญาตให้เลี้ยงจากกรมประมง ส่วนปลาชนิดอื่นๆนั้นไม่สามารถนำมาเลี้ยงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาสวยงามดังกล่าวไว้ดูเล่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ระเบียบและเงื่อนไขของกฎหมายด้วย เพื่อจะได้ไม่เป็นการกระทำผิดโดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากบทลงโทษค่อนข้างจะรุนแรงคือ ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท จำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา บทความโดย นายประพันธ์ ลีปายะคุณ